จากหลักการที่ว่ามาเราสามารถผสมสีดำได้จาก C+M+Y นั่นเอง แต่ทั้งนี้อาจต้องใช้ปริมาณสีต่างๆมาก และดำอาจจะดำไม่สนิท เราจึงต้องเพิ่ม K เข้ามาซึ่ง K ไม่สามารถผสมสีเป็นสีอื่นได้ ทำได้แค่เพิ่มความเข้มเท่านั้น blacK จึงเอาตัวหลังคือ K มาแทนตัวย่อซึ่งต่างกันสี CMY ที่เอาตัวแรกมาเป็นย่อนั่นเอง
จึงเกิดระบบสีขึ้นมาคือ CMYK Cyan Mangenta Yellow และ blacK
Light ใส่มาเพื่อให้เครื่องพิมพ์ได้ไล่สีให้ต่างกันมากขึ้นหรือขั่นของสีมีจำนวนมากขึ้น ยกตัวอย่างขณะเครื่องพิมพ์กำลังพ่นสี C อยู่หากภาพตรงนั้นมีสีฟ้าอ่อนๆ เครื่องพิมพ์เปลี่ยนจาก C เป้น Lc แทน เพื่อให้ควบคุมได้ง่ายขึ้นเนื่องจากมีความเข้มนี่น้อยกว่าสามารถควบคุมสีได้แม่นยำกว่าเพราะค่อยๆขึ้นปริมาณความเข้มได้ ต่างกับ C ที่สีเข้มกว่าการพ่นสีจะคุมได้ยากว่า
จริงๆแล้วไม่ใช่เพียงแต่เสื้อดำแต่เป็นเสื้อสีอื่นทุกสีที่ไม่ใช่เสื้อขาว ที่เป็นแบบนี้เพราะเครื่องพิมพ์ DTG จะใช้หมึกพิมพ์ Water Base หรือในอีกชื่อภาษาไทยคือหมึกพิมพ์ฐานน้ำ หมายถึง หมึกพิมพ์ที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ด้วยที่น้ำมึกซึมลงไปในเส้นใยฝ้ายทำให้เสื้อเบาและระบายอากาศได้ดีเหมือนเสื้อที่ยังไม่ผ่านการสกรีน
วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ไม่แนะนำมากที่สุดเนื่องจากทาง้รานต้องคอยสอบถามซึ่งบางครั้งลูกค้าไม่ได้เตรียมข้อมูลมาครบถ้วนอีกทั้งรายละเอียดงานสกรีนและราคายังแตกต่างกัน โดยมากเมื่อลูกค้าโทรมาทางร้านจะให้ไปติดต่อส่งรายละเอียดทาง Line แทนเพราะต้องการทราบรายละเอียดต่างๆในการสกรีน และบางครั้งทางร้านติดงานสกรีนหรือส่งของทำให้ไม่สะดวกให้การตอบลูกค้าในขณะนั้น